การสำรวจ ของ อมัลเทีย (ดาวบริวาร)

ในช่วง พ.ศ. 2522 – 2523 ยานอวกาศวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 ได้ถ่ายภาพแรกของอมัลเทียซึ่งแสดงให้เห็นถึงพื้นผิวของอมัลเทีย[2] อมัลเทียยังได้รับการตรวจวัดแสงทั้งในย่านความถี่ที่มองเห็นได้และย่านอินฟราเรดและตรวจวัดอุณหภูมิของพื้นผิว[14] ต่อมายานกาลิเลโอได้ถ่ายภาพพื้นผิวของอมัลเทียโดยสมบูรณ์ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ยานกาลิเลโอได้เข้าใกล้อมัลเทียที่ความสูงประมาณ 160-170 กม. ยานได้ตรวจวัดมวลของอมัลเทียอย่างแม่นยำและยานกาลิเลโอได้อาศัยแรงดึงดูดของอมัลเทียในการเปลี่ยนวงโคจรเพื่อพุ่งเข้าไปยังดาวพฤหัสบดีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 อันเป็นการสิ้นสุดภารกิจของยานกาลิเลโอ[3] ใน พ.ศ. 2549 วงโคจรของอมัลเทียได้รับการตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งโดยยานนิวฮอไรซันส์

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อมัลเทีย (ดาวบริวาร) http://www.space.com/scienceastronomy/almathea_upd... http://www.cbat.eps.harvard.edu/iauc/02800/02846.h... http://www.cbat.eps.harvard.edu/iauc/08100/08107.h... http://www.astro.umd.edu/~hamilton/research/prepri... http://solarsystem.nasa.gov/galileo/news/display.c... http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15919987 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15919987 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10325220 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10325220 http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15618511